About Us

ประวัติการก่อตั้งสมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2520 จัดตั้ง “ชมรมแพทย์โรคภูมิแพ้และนักอิมมูโนวิทยาแห่งประเทศไทย” โดยมี ศ.นพ.วิจิตร พานิช เป็นประธานชมรมฯ สมัยที่ 1
พ.ศ. 2522-2523 ศ.ดร.สถิตย์ สิริสิงห เป็นประธานชมรมฯ สมัยที่ 2
พ.ศ. 2524-2525 ศ.นพ.มนตรี ตู้จินดา เป็นประธานชมรมฯ สมัยที่ 3
พ.ศ. 2526-2527 4 เมษายน พ.ศ. 2527 ได้จดทะเบียน ยกสถานภาพเป็น “สมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาแห่งประเทศไทย”
มี ศ.นพ.ดิเรก พงศ์พิพัฒน์ เป็นนายกสมาคมฯ สมัยแรก โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
1. เพื่อรวบรวมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจในวิชาโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาเข้าเป็นกลุ่ม
2. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และปรึกษาหารือในปัญหาต่างๆ และวิชาการอันเกี่ยวกับวิชาโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาในระหว่างสมาชิก
3. เพื่อเป็นศูนย์กลางจัดรวบรวมบทความที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาทั้งภายในและภายนอกประเทศ
4. เพื่อช่วยเหลือให้ความรู้หรือคำบรรยายแก่แพทย์ บุคคลในสาขาวิชาชีพอื่น และประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับเรื่องโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยารวมทั้งช่วยส่งเสริมการวิเคราะห์หรือวิจัยด้านสาขาวิชานี้ สมาคมฯ อาจให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินสำหรับการวิจัย
5. เพื่อติดต่อประสานงานกับสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาของต่างประเทศ
ได้มีการจัดพิมพ์วารสารทางวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ ใช้ชื่อว่า “Asian Pacific Journal of Allergy and Immunology”
พ.ศ. 2529-2531 ศ.นพ.ไพบูลย์ พานิชการ เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 2
พ.ศ. 2531-2533

ศ.นพ.มนตรี ตู้จินดา เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 3 โดยในช่วงนี้ได้ร่วมกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งสมาพันธ์ “Asian Pacific Federation of Allergology and Immunology Societies”

26-29 ตุลาคม พ.ศ.2532 ได้มีการจัดประชุม “The First Asian Pacific Symposium of Allergology and Immunology” ที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย

พ.ศ. 2533-2535

ศ.นพ.มนตรี ตู้จินดา เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 4 เพื่อขยายประเทศสมาชิกทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงมีมติเปลี่ยนจากสมาพันธ์เป็นสมาคม “Asian Pacific Association of Allergology and Immunology”โดยมี ศ.นพ.มนตรี ตู้จินดา เป็นนายกสมาคมฯ คนแรก

22-26 พฤศจิกายน พ.ศ.2535 ได้มีการจัดประชุม “The First Asia-Pacific Congress of Allergology and Immunology” ที่กรุงเทพฯ

พ.ศ. 2534-2537 ได้มีการจัดตั้งสมาพันธ์ “Federation of Immunological Societies of Asia-Oceania (FIMSA)” โดยมี ศ.ดร.สถิตย์ สิริสิงห์ ร่วมเป็นกรรมการจัดตั้งและกรรมการบริหาร
พ.ศ. 2535-2537 ศ.นพ.บุญเจือ ธรณินทร์ เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 5
พ.ศ. 2537-2539 ศ.นพ.บุญเจือ ธรณินทร์ เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 6
พ.ศ. 2539-2541 ศ.นพ.ประพันธ์ ภาณุภาค เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 7
พ.ศ. 2541-2543

ศ.พญ.สุทธิพันธ์ สาระสมบัติ เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 8

23-27 มกราคม พ.ศ. 2543 สมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการของสมาพันธ์ FIMSA ครั้งที่ 2 “The Second Congress of the Federation of Immunological Societies of Asia-Oceania” โดย ศ.ดร.สถิตย์ สิริสิงห ได้รับเลือกเป็นประธาน FIMSA Councilor

พ.ศ. 2543-2545

ศ.พญ.สุทธิพันธ์ สาระสมบัติ เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 9

21-25 ตุลาคม พ.ศ. 2545 สมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาแห่งประเทศไทยร่วมกับ FIMSA จัด “The 6th FIMSA Advanced Training Course: Molecular Mechanisms of Infection and Immunity" ทีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เริ่มจัดงาน World Allergy Day เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่ สวนหลวง ร.9

พ.ศ. 2545-2549

ศ.พญ.ฉวีวรรณ บุนนาค เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 10, 11

ริเริ่มโครงการ Allergy School for Residents

8 กรกฏาคม 2548 สมาคมฯ ได้จัดงานรณรงค์วันโรคภูมิแพ้โลก ร่วมในงาน “36 ปี รามาธิบดี กับการสร้างเสริมสุขภาพประชาชน" ที่ลานอเนกประสงค์ อาคาร 1 และงานเสวนา “มลพิษทางอากาศกับโรคภูมิแพ้: ปัญหาและแนวทางการแก้ไข” โดย รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, รศ.นพ. สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์, ผศ.พิเศษ ดร.นันทวรรณ วิจิตรวาทการ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินรายการโดย ผศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ห้องประชุมกลาง ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

พ.ศ. 2549-2553

ศ.นพ.ปกิต วิชยานนท์ เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 12, 13

30 มิถุนายน 2550 จัดงานรณรงค์โรคภูมิแพ้ “อยู่อย่างไรให้ชนะ..ภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และหอบหืด” ที่ Infinity hall ชั้น 5 สยามพารากอน

2 - 6 ธันวาคม 2550 เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม World Allergy Congress 2007 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ โดยมี ศ.นพ.ปกิต วิชยานนท์ เป็นประธานจัดงาน

มีการเลือกตั้งผู้รั้งตำแหน่งนายกสมาคมฯ ในปี พ ศ 2551

เริ่มมีการจัดปาฐกถา ศ.นพ.มนตรี ตู้จินดา - ศ.ดร.ทพ.สถิตย์ สิริสิงห เป็นครั้งแรก โดยได้มีการมอบรางวัลนี้ใน 2 สาขา คือ Allergy และ Immunology และเชิญเป็นองค์ปาฐก ในปาฐกถาฯ ดังกล่าว ในการประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมฯ ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา

30 สิงหาคม 2551 สมาคมฯ เริ่มจัดกิจกรรม “Allergy Practice Meeting” เป็นครั้งแรก เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มแพทย์โรคภูมิแพ้ในภาครัฐและภาคเอกชน ได้มีโอกาสพบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ และปรึกษากัน โดยหลังจากนั้นได้มีการจัดกิจกรรมนี้เป็นประจำต่อเนื่อง และเปลี่ยนชื่อกิจกรรมนี้เป็น “Bangkok Allergy Round” ต่อมาจนถึงปัจจุบัน

18 ตุลาคม 2551 จัดงานรณรงค์โรคภูมิแพ้ “ภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกัน เรื่องสำคัญใกล้ตัว” ที่ชั้น 7 ลาน Heaven on Seven เซนทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

24 พฤษภาคม 2552 สมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาแห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย และสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดกิจกรรม เดิน-วิ่ง รณรงค์เพิ่อโรคหืดและภูมิแพ้ Bangkok Allergy-Asthma Mini-Marathon 2009 ที่ สวนหลวง ร.9 กรุงเทพฯ

ปี 2553 ได้เปลี่ยนชื่อสมาคมฯ เป็น “สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืดและวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย (The Allergy, Asthma and Immunology Society of Thailand; AAIST)”

เมษายน 2553 สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย ได้จัดทำ Position Statement เรื่อง การส่งตรวจ Food specific IgG สำหรับเป็นแนวทางปฏิบัติแก่แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปให้เข้าใจและพิจารณาที่จะไม่ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ Food specific IgG ในผู้ป่วยที่สงสัยการแพ้อาหาร เนื่องจากไม่มีข้อมูลหลักฐานทางการแพทย์ที่สนับสนุนเพียงพอ

พ.ศ.2553-2555

รศ.นพ.สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 14

26-29 สิงหาคม 2553 จัดงานสัปดาห์รณรงค์โรคภูมิแพ้และโรคหืด “เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ฝ่าฟันโรคภูมิแพ้” (Thailand Allergy & Asthma Days 2010) โดยร่วมจัดในงาน Thailand Health & Wellness 2010 ที่อาคาร 5-6 อิมแพค เมืองทองธานี กรุงเทพฯ

18 มิถุนายน 2554 จัดงานวันรณรงค์โรคภูมิแพ้และโรคหืด ประเทศไทย 2554 “โรคภูมิแพ้กับปัญหาสุขภาพระดับโลก Allergic Diseases Pose A Global Public Health Concerns” ร่วมกับงานนิทรรศการภาคประชาชน การประชุมร่วมคณะแพทย์สามสถาบัน พ.ศ. 2554 จุฬา-รามาฯ-ศิริราช ที่อาคาร 9 อิมแพค เมืองทองธานี กรุงเทพฯ

ได้เปลี่ยนชื่อสมาคมฯ ภาษาอังกฤษเป็น “The Allergy, Asthma and Immunology Association of Thailand; AAIAT” และดำเนินการจดทะเบียนได้อย่างสมบูรณ์กับสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2555

พ.ศ.2555-2557

ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 15

19-20 ตุลาคม 2555 จัดการประชุม Abbas’s Advanced Course in Basic and Clinical Immunology ครั้งที่ 1 ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ

29 ตุลาคม 2555 สมาคมฯ ร่วมกับโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชน 13 แห่ง ได้จัดงาน Allergy Expert Week 2012 ที่ Central World โดยได้ทูลเชิญพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จมาทรงเป็นประธานเปิดงาน

29 กันยายน 2556 สมาคมฯ ร่วมกับองค์กร International Patient Organization for Primary Immunodeficiencies; IPOPI ได้จัดกิจกรรม “IPOPI-AAIAT First Thai PID Patients National Meeting” ที่โรงแรมโนโวเทล เพลินจิต กรุงเทพฯ เพื่อเป็นการริเริ่มการรวมกลุ่มผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดปฐมภูมิในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ให้ได้มีเวทีในการให้ความรู้ พูดคุย พบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วย และผู้ป่วยตลอดจนครอบครัว ตลอดจนระหว่างผู้ป่วยและครอบครัวด้วยกันเอง ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจ และความร่วมมือในการรักษาโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดปฐมภูมินี้ได้อย่างดียิ่งขึ้น

2-4 ตุลาคม 2556 จัดการประชุม APAPARI-AAIAT Joint Congress 2013 ที่โรงแรมพลาซาแอทินี กรุงเทพฯ โดยมี รศ.สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ เป็นประธานจัดงาน มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 680 คน

22 - 25 ตุลาคม 2556 จัดการประชุม “The 12th FIMSA Advanced Immunology Training Course: Innate Immunity” ที่โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 107 คน

29 พฤษภาคม 2557 สมาคมฯ ร่วมกับกลุ่มผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดปฐมภูมิ ได้ร่วมกันก่อตั้งชมรมผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิในประเทศไทย (Thai Patient Organization for Primary Immunodeficiency; Thai POPI) โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กร IPOPI ได้มีกิจกรรมพบปะกันในกลุ่มผู้ป่วยและแพทย์ และได้จัดทำเอกสาร “10 สัญญาณเตือนของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดปฐมภูมิ” ขึ้นมา เพื่อเพิ่มการตระหนักแก่แพทย์ และประชาชนทั่วไป ในการเฝ้าระวังและวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น

พ.ศ.2557-2559

ศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์ เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 16

6-8 พฤศจิกายน 2557 จัดการประชุม Abbas’s Advanced Course in Basic and Clinical Immunology ครั้งที่ 2 ที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กรุงเทพฯ

จัดทำแนวทางปฏิบัติในการป้องกันโรคภูมิแพ้เป็นครั้งแรกของประเทศไทย และทบทวนแนวทางปฏิบัติในการดูแลโรคหืดสำหรับผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่, ลมพิษ, ผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ และแอนาฟิแล็กซิส (Anaphylaxis)

1 เมษายน 2558 สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น และบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในหลักสูตรปรัชญาบัณฑิต สาขาวิชา วิทยาภูมิคุ้มกัน (นานาชาติ) ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี่ เพลินจิต กรุงเทพฯ

กันยายน - ตุลาคม 2558 สมาคมฯ ร่วมกับหน่วยโรคภูมิแพ้ต่างๆ ของคณะแพทย์ฯ และโรงพยาบาลต่างๆ 13 แห่ง ร่วมกันจัดงานสัปดาห์รณรงค์โรคภูมิแพ้และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิ ประเทศไทย ประจำปี 2558 (Thailand Allergy & Immunodeficiency Awareness Week 2015) ทั่วประเทศเป็นครั้งแรก

ให้การสนับสนุนงานวิจัยเรื่องการวัดปริมาณและชนิดของ pollen แก่ ดร.วิษุวัต สงนวล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


วิสัยทัศน์ของสมาคม (Vision)

สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย เป็นที่พึ่งให้กับวิชาชีพและสังคมภายในประเทศ


พันธกิจของสมาคม (Mission)

สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ส่งเสริมงานวิจัย และการดูแลที่มีมาตรฐานทางด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกัน สำหรับประชาชนและสังคม


วัตถุประสงค์ของสมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย

1. ส่งเสริมให้การสนับสนุนให้การอบรมแพทย์ โรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกัน

2. รวบรวมข้อมูล ประเมินและเผยแพร่ ข้อมูลทางวิชาการด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกัน แก่แพทย์ กุมารแพทย์ อายุรแพทย์ และบุคคลากรทางการแพทย์

3. เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ ด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด ตลอดจนโรคทางระบบภูมิคุ้มกันต่างๆ แก่ภาครัฐ และสังคม รวมทั้งรณรงค์ และรักษาสิทธิผู้ป่วย

4. ส่งเสริมการวิจัยพื้นฐานด้านคลินิกทางด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกัน

5. สร้างเครือข่ายระหว่างผู้ป่วยกับองค์กรสาธารณะ

6. ให้ความรู้ โรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแก่ประชาชน


รายชื่อนายกฯ และเลขาธิการสมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมาจนถึงปัจจุบัน
วาระบริหาร นายกสมาคมฯ เลขาธิการ
2527 - 2529 ศ.นพ.ดิเรก พงษ์พิพัฒน์ ศ.นพ.มนตรี ตู้จินดา
2529 - 2531 ศ.นพ.ไพบูลย์ พานิชการ ศ.นพ.ประพันธ์ ภานุภาค
2531 - 2533 ศ.นพ.มนตรี ตู้จินดา ศ.พญ.สุทธิพันธ์ สาระสมบัติ
2533 - 2535 ศ.นพ.มนตรี ตู้จินดา ศ.พญ.สุทธิพันธ์ สาระสมบัติ
2535 - 2537 ศ.นพ.บุญเจือ ธรณินทร์ ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล
2537 - 2539 ศ.นพ.บุญเจือ ธรณินทร์ ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล
2539 - 2541 ศ.นพ.ประพันธ์ ภาณุภาค พญ.สุกัญญา โพธิกำจร
2541 - 2543 ศ.พญ.สุทธิพันธ์ สาระสมบัติ ผศ.พญ.ศันสนีย์ เสนะวงษ์
2543 - 2545 ศ.พญ.สุทธิพันธ์ สาระสมบัติ รศ.พญ.นภาธร บานชื่น
2545 - 2547 ศ.พญ.ฉวีวรรณ บุนนาค รศ.นพ.พีรพันธ์ เจริญชาศรี
2547 - 2549 ศ.พญ.ฉวีวรรณ บุนนาค รศ.นพ.พีรพันธ์ เจริญชาศรี
2549 - 2551 ศ.นพ.ปกิต วิชยานนท์ ศ.พญ.นวลอนงค์ วิศิษฎสุนทร
2551 - 2553 ศ.นพ.ปกิต วิชยานนท์ รศ.ดร.พญ.อัญชลี ตั้งตรงจิตร
2553 - 2555 รศ.นพ.สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ นพ.วสุ กำชัยเสถียร
2555 - 2557 ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รศ.นพ.เจตทะนง แกล้วสงคราม
2557 - 2559 ศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์ นพ.วสุ กำชัยเสถียร
2559 - 2561 รศ.พญ.ชลีรัตน์ ดิเรกวัฒนชัย นพ.วสุ กำชัยเสถียร
2561 - 2563 ศ.พญ.มุทิตา ตระกูลทิวากร นพ.วสุ กำชัยเสถียร
2563 - 2565 รศ.พญ.พรรณทิพา ฉัตรชาตรี นพ.วสุ กำชัยเสถียร
2565 - 2567 รศ.นพ.ฮิโรชิ จันทาภากุล นพ.วสุ กำชัยเสถียร

การประชุมจัดทำและทบทวนแผนแม่บทของสมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย

ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2543 ที่โรงแรมอิมพีเรียลเลควิว รีสอร์ท ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2545 ที่โรงแรมมณเฑียร พัทยา จังหวัดชลบุรี

ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 9 - 10 สิงหาคม 2551 ที่โรงแรมไอยสวรรค์รีสอร์ทแอนด์สปา พัทยา จังหวัดชลบุรี

ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 4 - 6 มีนาคม 2554 ที่โรงแรมเทวมันตรารีสอร์ทแอนด์สปา จังหวัดกาญจนบุรี

ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 13 - 14 กุมภาพันธ์ 2559 ที่โรงแรมอัมพวาน่านอนแอนด์สปา จังหวัดสมุทรสงคราม



Louis vuitton fake kaufen Louis vuitton imitacion Bolsos Louis vuitton imitazioni Louis vuitton tassen Replica
Cheap NFL Jerseys sac Louis Vuitton pas cher chine Hermes Replica Handbags