Publication

โรคภูมิแพ้ในเด็ก ตอนที่ 2


Update : 16 Feb 2011

ที่พบบ่อยได้แก่ลมพิษและผิวหนังอักเสบภูมิแพ้โดยผู้ป่วยที่เป็นลมพิษจะเริ่มด้วยอาการคัน หลังจากนั้นจะมีอาการบวม...

โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง

ภูมิแพ้ที่พบบ่อยได้แก่ลมพิษและผิวหนังอักเสบโดยผู้ป่วยที่เป็นลมพิษจะเริ่มด้วยอาการ คัน หลังจากนั้นจะมีอาการบวม เป็นได้ทั้งตัวโดยเฉพาะที่ถูกเกาหรือกดรัด  มักเป็นๆหายๆ อาการบวมอาจจะเป็นแบบตุ่มนูนที่มีขนาดแตกต่างกันส่วนใหญ่อาจดูคล้ายตุ่มยุง กัด แต่บางแห่งจะดูคล้ายแผนที่โดยตรงกลางผื่นสีจะจางและไม่นูน ผื่นลมพิษนี้อาจมีลักษณะแตกต่างไป ในบางครั้งจะรวมกันเป็นปื้นหนา หรืออาจมีจุดขาวซีดๆตรงกลาง ขณะที่ขอบโดยรอบจะหนานูนแดง ผื่นลมพิษจะเห่อเร็วและผื่นนั้นมักจะหายภายใน 4-6 ชม.โดยไม่มีร่องรอยหลงเหลือ แล้วก็จะย้ายไปขึ้นบริเวณอื่นได้อีก โดยมากผื่นจะหายไปใน 24 ชั่วโมง ถ้าเป็นนานเกิน 24 ชั่วโมงให้นึกว่าอาจจะเป็นโรคอื่น ในรายที่เป็นมากอาจมีอาการบวมของหนังตา ริมฝีปาก อวัยวะเพศ ทางเดินหายใจร่วมด้วย ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (atopic dermatitis) มักเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุขวบปีแรก โดยร้อยละ 80-90 ของเด็กที่เป็นโรคนี้มักมีอาการก่อนอายุ 7 ปี โดยผู้ป่วยจะมีอาการผื่นคันตามลำตัวและหน้าเป็นๆหายๆ ผิวแห้งอักเสบและมีอาการกำเริบเป็นระยะเมื่อได้รับสารกระตุ้น ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้จะมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคหืดเมื่อเด็กโตขึ้น สาเหตุที่สำคัญของโรคภูมิแพ้ทางผิวหนังในเด็กได้แก่ แพ้อาหาร โดยอาหารที่พบว่าแพ้ได้บ่อยในเด็กไทยคือไข่ นมวัว อาหารทะเล และแป้งสาลี


โรคภูมิแพ้ทางตา


เป็นการอักเสบของเยื่อตาขาวและใต้เปลือกตา ผู้ป่วยจะมีอาการคันตา ตาแดง น้ำตาไหล แสบตาและมีขี้ตา โดยมักมีอาการช่วงได้รับสารกระตุ้นเช่นฝุ่น ละอองเกสรหญ้า หรือขนสัตว์ ผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้ทางตามักพบร่วมกับอาการโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้


โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรงที่มีอาการหลายระบบ  (anaphylaxis)


เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้  อาการแพ้จะเกิดขึ้นรุนแรงรวดเร็วและมีอาการหลายระบบ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการคัน ลมพิษ บวมที่หน้า ปาก แน่นในลำคอ จาม น้ำมูกไหล หายใจลำบาก บางรายอาจมีอาการปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย ความดันโลหิตลดต่ำลง หมดความรู้สึก และอาจถึงแก่ชีวิตได้  ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีในรายที่เป็นโรคหืดอยู่เดิมอาจไปกระตุ้น ให้โรคหืดกำเริบได้  สาเหตุที่สำคัญของโรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรงคือภาวะแพ้อาหาร ยา แมลงต่อย ซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะแพ้ชนิดนี้ ควรหลีกเลี่ยงสารที่แพ้และในรายที่เกิดอาการแพ้ที่รุนแรง เช่น ช็อค ผู้ป่วยควรมียาฉีด adrenaline พกติดตัวไว้ด้วยเพื่อป้องกันการเสียชีวิตก่อนที่จะพบแพทย์


การรักษาโรคภูมิแพ้

หลักการดูแลผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มีหลักการทั่วไปคือ
•  การควบคุมสิ่งแวดล้อมและสารก่อภูมิแพ้
•  การให้การรักษาด้วยยา


การควบคุมสิ่งแวดล้อมและสารก่อภูมิแพ้

ได้มีการสำรวจผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ในประเทศไทยพบว่ามักจะแพ้ไรฝุ่นและฝุ่นบ้านเป็น อันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่แมลงสาบ ละอองเกสรพืชและขนสัตว์ ถ้าทำได้แนะนำให้ทำการทดสอบผิวหนังทุกคนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความ ชัดเจนว่า แพ้อะไร จะได้หลีกเลี่ยงได้ถูกต้องและยังใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาทำการรักษาด้วย การฉีดวัคซีนอีกด้วย ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ที่ไม่ได้รับการทดสอบผิวหนังหรือไม่สามารถทำการ ทดสอบได้ก็ควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อยดังนี้คือ

1. ไรฝุ่น
•  จัดห้องนอนให้โล่ง ไม่ควรมีพรม ตุ๊กตาและผ้าม่าน
•  ซักผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนและผ้าห่มด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
•  คลุมที่นอน หมอน หมอนข้างด้วยผ้าใยสังเคราะห์ชนิดพิเศษซึ่งสามารถกันไม่ให้ตัวไรฝุ่นลอดผ่านขึ้นมาได้

2. แมลงสาบ
•  ขจัดแหล่งอาหารของแมลงสาบ โดยใส่ขยะและเศษอาหารในถุงหรือถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด
•  ใช้ยาฆ่าแมลงสาบและกับดักแมลงสาบ

3. สัตว์เลี้ยง
•  ไม่ควรเลี้ยงสัตว์มีขนเช่น สุนัข แมว นก กระต่าย
•  ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ควรให้สัตว์เลี้ยงอยู่นอกบ้านและอาบน้ำทุกสัปดาห์
•  ใช้เครื่องดูดฝุ่นและเครื่องกรองอากาศ

4. เกสรหญ้า
• ควรตัดหญ้าและวัชพืชบริเวณบ้านบ่อยๆ เพื่อลดจำนวนเกสร
• ไม่ควรนำต้นไม้ ดอกไม้สดหรือแห้งไว้ในบ้าน
• ในช่วงที่มีละอองเกสรมาก ควรปิดประตู หน้าต่างและใช้เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศ
• ทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงเช้า เพราะละอองเกสรจะปลิวมากช่วงตอนเย็น

นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงสารระคายเคืองต่างๆ ที่อาจทำให้อาการภูมิแพ้กำเริบ ได้แก่ ควันบุหรี่ ควันท่อไอเสีย กลิ่นฉุน น้ำหอม ควันธูปและฝุ่นละอองจากแหล่งต่างๆ การออกกำลังกายสม่ำเสมอและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก็มีความสำคัญ โดยพบว่าผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มักมีอาการแย่ลงเมื่อมีภาวะเครียดและอดนอน ดังนั้นควรดูแลสุขภาพตัวเองไม่ให้เครียดมากและควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ในกรณีมีอาการหืดกำเริบจากการออกกำลังกาย การพ่นยาขยายหลอดลมก่อนการออก กำลังกาย 15-30 นาทีจะช่วยป้องกันการหอบระหว่างออกกำลังกายได้


การให้การรักษาด้วยยา

เราอาจแบ่งการรักษาโรคภูมิแพ้ออกได้เป็น 3 ระดับเพื่อความเข้าใจง่ายๆดังนี้
1. ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้แพ้ หรือต้านฮิสตามีน ยาขยายหลอดลม
2. ยาต้านการอักเสบ เช่น ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกหรือสูดทางปาก
3. การใช้วัคซีนภูมิแพ้ เป็นการรักษาโดยการฉีดสารก่อภูมิแพ้ เข้าไปในร่างกายเริ่มจากปริมาณน้อยๆ และเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆจนร่างกายเกิดความชินต่อสารก่อภูมิแพ้นั้น ซึ่งผู้ป่วยที่ควรรับการรักษาโดยวิธีฉีดวัคซีนภูมิแพ้คือ ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาไม่ดีขึ้นหรือมีผลข้างเคียงจากยา โดยก่อนจะเลือกรักษาด้วยการฉีดวัคซีนจำเป็นต้องทราบก่อนว่าแพ้อะไรเพื่อจะ ได้นำสารที่แพ้มาฉีด แต่อย่างไรก็ตามการรักษาโดยวิธีนี้ควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและผู้ ป่วยต้องรับการรักษาอย่างน้อย 3-5 ปี



Louis vuitton fake kaufen Louis vuitton imitacion Bolsos Louis vuitton imitazioni Louis vuitton tassen Replica
Cheap NFL Jerseys sac Louis Vuitton pas cher chine Hermes Replica Handbags