Publication

โรคภูมิแพ้ในเด็ก ตอนที่ 1


Update : 17 Feb 2011

สถานการณ์ของโรคภูมิแพ้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนทั้งทั่วโลกและในประเทศไทย จากการสำรวจในประเทศไทยพบว่า มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้น 3-4 เท่าในระยะเวลา 40 ปี...

สถานการณ์ของโลก

สถานการณ์ของโรคภูมิแพ้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนทั้งทั่วโลกและในประเทศไทย จากการสำรวจในประเทศไทยพบว่ามีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้น 3-4 เท่า ภายในระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา ขณะนี้ประเทศไทยมีอุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้โดยเฉลี่ยดังนี้คือ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ร้อยละ 23-30 โรคหลอดลมอักเสบจากภูมิแพ้หรือโรคหืดร้อยละ 10-15 โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ร้อยละ 15 และโรคแพ้อาหารร้อยละ 5 โดยอุบัติการณ์ในเด็กจะสูงกว่าในผู้ใหญ่คือพบเด็กที่มีภาวะโพรงจมูกอักเสบ จากภูมิแพ้ร้อยละ 40 โรคภูมิแพ้นั้นถ้าไม่ได้รับการรักษาจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่กว่าคน ปกติ เช่น การเกิดอาการคัดจมูกในเวลากลางคืนทำให้นอนอ้าปากหายใจจึงตื่นมาด้วยอาการปาก แห้งรู้สึกเหมือนนอนหลับไม่สนิท สมาธิสั้น ถ้าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นในเด็กก็อาจทำให้มีปัญหาการหลับในเวลาเรียน ความคิดความจำสั้น เรียนและทำงานได้ไม่เต็มที่ และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น ไซนัสอักเสบ ริดสีดวงจมูก หูชั้นกลางอักเสบ นอนกรน

   
โรคภูมิแพ้คืออะไร

โรคภูมิแพ้คือโรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อสารกระตุ้นที่ในภาวะปกติ แล้วจะไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายเช่น ไรฝุ่น ละอองเกสรพืชแล้วเกิดการตอบสนองอย่างมากผิดปกติ ทำให้เกิดการอักเสบในอวัยวะที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้นั้น เช่นถ้าเป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูกเมื่อเราหายใจเข้าไปทางจมูก สารก่อภูมิแพ้จะไปสัมผัสกับเยื่อบุโพรงจมูกแล้วทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูก เกิดอาการคัดจมูก จาม มีน้ำมูกใสๆ คันจมูก ถ้าเป็นโรคหืดเมื่อหายใจเอาสารก่อภูมิแพ้เข้าไปถึงหลอดลมก็จะทำให้เกิดการอักเสบของหลอดลมแล้วหลอดลมก็จะตอบสนองด้วยการหดเกร็งเกิดอาการของหลอดลมตีบขึ้น อาจใช้เวลาก่อนเกิดอาการเป็นนาทีหรือเป็นชั่วโมงก็ได้ ในคนที่เป็นโรคภูมิแพ้มักมีแนวโน้มที่จะเกิดการตอบสนองไวกว่าปกติ ต่อสิ่งกระตุ้นที่ไม่ใช่สารก่อภูมิแพ้ได้ เช่น ความเย็น ความร้อน ความกดอากาศต่ำ หรือฝน ความชื้น ซึ่งภาวะนี้อาจอยู่นานเป็นวันหรือเป็นเดือนก็ได้และสามารถเกิดอาการได้โดย ไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้

สาเหตุของโรคภูมิแพ้

เกิดจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมโดยพบว่าถ้าบิดาหรือมารดาเป็นโรคภูมิแพ้จะทำให้บุตรมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ประมาณร้อยละ 30-50 แต่ถ้าทั้งบิดาและมารดาเป็นโรคภูมิแพ้จะมีผลให้บุตรมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้นถึงร้อยละ 50-70 ในขณะที่เด็กที่มาจากครอบครัวที่ไม่มีประวัติโรคภูมิแพ้เลยมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้เพียงร้อยละ 10 เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่สามารถแก้ไขปัจจัยทาง   พันธุกรรมได้ ดังนั้นการกำจัดและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และสารระคายเคืองต่างๆ เช่น ควันบุหรี   ไรฝุ่นในผู้ป่วยและครอบครัวที่เป็นโรคภูมิแพ้ (ซึ่งมีความเสี่ยงสูง) จะสามารถลดอาการของโรคหรือป้องกันไม่ให้เกิดโรคภูมิแพ้ขึ้นได้

ชนิดของโรคที่พบบ่อย

สามารถแบ่งตามระบบของร่างกายออกได้เป็น 4 กลุ่มคือ
1.โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ
2.โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง
3.โรคภูมิแพ้ทางตา
4.โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรงที่มีอาการหลายระบบ (anaphylaxis)

ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจซึ่งพบบ่อยและเป็นปัญหามากที่สุด

โรคหืด

อาการของผู้ป่วยขณะที่จับหืดคือ มีอาการแน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หายใจดังหวีด มักมีอาการเป็นๆหายๆ หรือในกรณีที่มีอาการมากอาจมีอาการทุกคืน อาการอาจบรรเทาได้ด้วยยาขยายหลอดลม แต่ก็มักควบคุมอาการได้เฉพาะช่วงแรกๆ ต่อมามักต้องใช้ยาบ่อยขึ้นและมากขึ้น บางครั้งโรคหืดอาจแสดงอาการเพียงแต่อาการไอกลางคืนหรือไอเรื้อรังโดยไม่มี เสียงหวีด หรืออาการแน่นหน้าอกก็ได้ทำให้การวินิจฉัยยากขึ้น บางครั้งก็มีอาการแน่นหน้าอกเฉพาะช่วงออกกำลังกายแต่ที่มักถูกมองข้ามเกือบ เสมอๆ คือไม่ได้นึกถึงโรคภูมิแพ้ทางจมูก ซึ่งสามารถพบร่วมกันได้มากกว่าร้อยละ 70-80 ซึ่งการให้การรักษาอาการของโรคหืดอย่างเดียวโดยไม่รักษาโรคภูมิแพ้ทางจมูก ด้วย จะทำให้ควบคุมอาการไม่ดีเท่าที่ควร การวินิจฉัยที่แน่นอนคือการตรวจวัดสมรรถภาพของปอดซึ่งนอกจากจะช่วยในการ วินิจฉัยโรคแล้วยังช่วยประเมินความรุนแรงของโรคอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามการตรวจโดยวิธีนี้ทำได้ค่อนข้างยากในผู้ป่วยเด็กที่มีอายุ น้อยกว่า 7 ปี กรณีที่ไม่มีเครื่องทดสอบสมรรถภาพปอดอาจใช้เครื่อง peak flow meter ซึ่งมีราคาถูกกว่าและมีประโยชน์ในการประเมินอาการของโรคกรณีที่ไม่สามารถ ตรวจสไปโรเมตรีย์ได้
   
 
โรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือโรคแพ้อากาศ


อาการของโรคภูมิแพ้ทางจมูกอาจแบ่งได้เป็น 4 ชนิด คือ ชนิดแรกเป็นชนิดที่มีอาการเด่นทางน้ำมูกคือจะมีน้ำมูกใสไหล จาม คันจมูก ชนิดที่สองมีอาการเด่นทางอาการคัดจมูกเป็นหลักมักไม่มีน้ำมูกและอาการจาม ชนิดที่สามจะมีอาการของ 2 ชนิดแรกรวมกันคือมีทั้ง น้ำมูกใสและอาการคัดจมูก ส่วนชนิดสุดท้ายจะมีอาการที่วินิจฉัยยากถ้าผู้ตรวจไม่มีความชำนาญอาจวินิจฉัยผิดได้ กลุ่มนี้อาจมีอาการไอเรื้อรังหรือกระแอมซึ่งเกิดจากเสมหะไหลหรือซึมลงคอ อาจรู้สึกมีเสมหะติดคอเวลาเช้าได้ บางคนมีอาการปวดหัวเรื้อรัง นอนกรน หรือถอนหายใจบ่อยๆ ปากแห้ง บางคนมีอาการคันหัวตาโดยไม่มีอาการตาแดง อธิบายว่าเกิดจากการที่มีเยื่อจมูกบวมมากทำให้ท่อน้ำตาที่อยู่ติดกันอักเสบ เกิดอาการคันที่หัวตาอย่างมาก

การวินิจฉัยโรคนี้สามารถทำได้จากการซักประวัติอย่างละเอียดโดยเฉพาะประวัติโรค หรืออาการภูมิแพ้ภายในครอบครัว การสังเกตตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการรวมทั้งสภาพลักษณะการทำงาน สภาพแวดล้อมภายในบ้าน ที่ทำงาน การตรวจร่างกายบางอย่างถ้าพบก็จะมีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคเช่น การมีขอบตาล่างบวมคล้ำ การตรวจภายในโพรงจมูกจะช่วยบอกถึงความรุนแรงของการอักเสบและอาจบอกถึงโรคใน โพรงจมูกที่มีผลต่อการรักษาโรคภูมิแพ้ได้ เช่นอาจพบการซีดหรือมีสีแดงจัดจากการอักเสบ ปัญหาสำคัญที่เราพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูกที่แพทย์และผู้ป่วย มักนึกไม่ถึงคือการที่มีผู้ป่วยโรคนี้จะมีโรคหืดร่วมด้วยประมาณ 1 ใน 3  ดังนั้นในผู้ที่มีอาการโรคภูมิแพ้ทางจมูกทุกคนจะต้องซักประวัติอาการของโรคหืดด้วยเสมอ




Louis vuitton fake kaufen Louis vuitton imitacion Bolsos Louis vuitton imitazioni Louis vuitton tassen Replica
Cheap NFL Jerseys sac Louis Vuitton pas cher chine Hermes Replica Handbags