Publication

ไซนัสอักเสบ ... รักษาได้ตอนที่ 2


Update : 17 Jun 2013

การวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบอาศัยประวัติการตรวจร่างกายและการสืบค้นเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบ
การวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบอาศัยประวัติการตรวจร่างกายและการสืบค้นเพิ่มเติมประวัติที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลันได้แก่ เป็นหวัดมานานมากกว่า 7-10 วัน เป็นหวัดที่มีอาการรุนแรงมาก ไข้สูง คัดจมูก มีน้ำมูกเหลืองข้น ได้กลิ่นลดลง ปวดหรือตื้อทึบบริเวณโหนกแก้มคล้ายปวดฟันบน ปวดรอบๆจมูก หัวคิ้วหรือหน้าผาก เจ็บคอ เสมหะไหลลงคอ ไอ ปวดศีรษะ อาการทางจมูกที่ไม่ดีขึ้นหลังให้ยาหดหลอดเลือด โดยมีอาการดังกล่าวภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังมักมีอาการไม่เฉพาะเจาะจงเช่น คัดจมูก การรับกลิ่นลดลงหรือไม่ได้กลิ่น มีน้ำมูกสีเขียวเหลืองในจมูกหรือไหลลงคอ ปวดศีรษะ มีกลิ่นปาก ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น ลิ้นเป็นฝ้า คอแห้ง มีเสมหะในคอ เจ็บคอ ระคายคอเรื้อรัง ไอ ปวดหูหรือ หูอื้อ อาจแยกได้ยากจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้

ลักษณะที่พบจากการตรวจร่างกายที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน ได้แก่ มีการกดเจ็บบริเวณไซนัสที่อักเสบเห็นน้ำมูกเหลืองข้นไหลลงคอ เยื่อบุจมูกที่อักเสบบวมแดงมากหรือมีหนองคลุม ส่วนโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังนั้นมักจะไม่มีอาการกดเจ็บบริเวณไซนัส การตรวจในช่องจมูกอาจพบน้ำมูกเหลืองในจมูกหรือโพรงหลังจมูกและเยื่อบุจมูก ที่อักเสบบวมได้

การสืบค้นเพิ่มเติมที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบได้แก่ การส่งถ่ายภาพรังสีไซนัส การส่งทำเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) บริเวณจมูกและไซนัสซึ่งมีประโยชน์ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคไซนัสอักเสบ ผู้ป่วยที่เป็นไซนัสอักเสบเฉียบพลันเป็นๆหายๆ หรือไซนัสอักเสบเรื้อรังและก่อนทำการผ่าตัดรักษาไซนัสอักเสบด้วยกล้องเอ็นโด สโคป การใช้กล้องเอ็นโดสโคปส่องตรวจในโพรงจมูกดูรูเปิดของไซนัสว่ามีหนองไหลออกมา หรือไม่ ก็มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยโรค นอกจากนั้นการส่องกล้องยังช่วยเก็บสารคัดหลั่งหรือหนอง เพื่อส่งตรวจหาเชื้อและความไวต่อยาต้านจุลชีพหาความผิดปกติทางกายวิภาคที่ เป็นสาเหตุของโรคไซนัสอักเสบและช่วยในการผ่าตัดโดยทำให้เห็นบริเวณที่ผ่าตัด ชัดขึ้นและช่วยในการติดตามผลการรักษาของผู้ป่วยด้วย

การรักษาโรคไซนัสอักเสบ

จุดมุ่งหมายของการรักษาไซนัสอักเสบคือ บรรเทาอาการและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและป้องกันภาวะแทรกซ้อนหรือการกลับเป็นซ้ำของโรค

หลักในการรักษาโรคไซนัสอักเสบ
1. กำจัดเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ
โดยการให้ยาต้านจุลชีพเพื่อทำให้อาการของโรคดีขึ้นเร็ว การเลือกชนิดของยาต้านจุลชีพขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อ การดำเนินโรคความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อนั้นๆและอุบัติการณ์ของการดื้อยา ระยะเวลาของการให้ยาต้านจุลชีพนั้น ในรายที่เป็นไซนัสอักเสบเฉียบพลันควรให้ยาต้านจุลชีพอย่างน้อย 10-14 วัน หรือให้จนผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติแล้วให้ต่ออีก 1 สัปดาห์หลังจากนั้น ในรายที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรังควรให้ยาต้านจุลชีพเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3-6 สัปดาห์

2. ทำให้การไหลเวียนของสารคัดหลั่งและอากาศภายในไซนัสดีขึ้น
     2.1 ยาหดหลอดเลือดทำให้การบวมของเยื่อบุจมูกลดลงบรรเทาอาการคัดจมูกทำให้รูเปิดของไซนัสโล่งขึ้น อาจให้ในรูปยาพ่นหรือยาหยอดจมูกหรือยารับประทานหรือให้ร่วมกันทั้งสองชนิดก็ ได้ สำหรับยาหดหลอดเลือดที่พ่นหรือหยอดจมูกไม่ควรใช้นานกว่า 7 วัน เพราะจะทำให้เยื่อบุจมูกเสียได้ ส่วนยาหดหลอดเลือดชนิดรับประทานควรระวังผลข้างเคียงเช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว นอนไม่หลับ กระสับกระส่ายด้วย
     2.2 ยาสตีรอยด์พ่นจมูกอาจมีประโยชน์ในรายที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรังหรือไซนัส อักเสบเป็นๆหายๆ โดยเฉพาะถ้ามีโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือชนิดที่ไม่แพ้ร่วมด้วย ยาพ่นจมูกดังกล่าวจะช่วยลดการอักเสบในจมูกทำให้รูเปิดของไซนัสที่มาเปิดใน โพรงจมูกโล่งขึ้น ช่วยให้การไหลเวียนของอากาศการระบายของสารคัดหลั่งหรือหนองที่อยู่ภายในไซนัสดีขึ้น
     2.3 ยาต้านฮิสตามีนไม่แนะนำให้ใช้ ยาต้านฮิสตามีนรุ่นเก่าในผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่ไม่ได้มีโรคจมูกอักเสบจาก ภูมิแพ้ร่วมด้วย เนื่องจากอาจทำให้น้ำมูกและสารคัดหลั่งแห้งและเหนียวได้ ในรายที่มีโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ร่วมด้วย ควรเลือกใช้ยาต้านฮิสตามีนรุ่นใหม่เนื่องจากมีผลข้างเคียงดังกล่าวค่อนข้าง น้อย
     2.4 ยาละลายมูกหรือเสมหะยังไม่มีการศึกษาที่แสดงถึงประสิทธิภาพของยาละลายมูกในการรักษาโรคไซนัสอักเสบชัดเจน
     2.5 การล้างจมูกด้วยน้ำเกลืออุ่นๆเป็นการชะล้างเอาน้ำมูก หนอง สิ่งสกปรกในจมูก ซึ่งเกิดจากการอักเสบในโพรงจมูกและไซนัสออกเพื่อให้โพรงจมูกและบริเวณรูเปิด ของไซนัสโล่ง ทำให้การพัดโบกของขนกวัดที่เยื่อบุจมูกดีขึ้น อาการต่างๆของผู้ป่วยจะดีขึ้นเร็ว
     2.6 การสูดดมไอน้ำเดือดจะช่วยทำให้เยื่อบุจมูกยุบบวม โล่ง อาการคัดจมูกน้อยลง อาการปวดตื้อๆที่ศีรษะดีขึ้น นอกจากนั้นยังทำให้การพ่นยาเข้าไปในจมูกมีประสิทธิภาพมากขึ้น
     2.7 การผ่าตัดส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่เป็นโรคไซนัสอักเสบมักจะหายได้โดยการใช้ยา อย่างเต็มที่ ส่วนน้อยที่ต้องรับการผ่าตัด ดังนั้นในการรักษาจึงพยายามใช้ยาอย่างเต็มที่ก่อนการผ่าตัดเป็นการแก้ไข พยาธิสภาพที่ทำให้รูเปิดระหว่างโพรงจมูกและไซนัสอุดตัน

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
• ผู้ป่วยที่ต้องการเชื้อไปส่งตรวจหาชนิดและความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อ
• ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยให้ยาอย่างเต็มที่แล้วผู้ป่วยไม่ดีขึ้น(ผู้ป่วย ไซนัสอักเสบเฉียบพลันที่รักษาด้วยยาเต็มที่แล้วไม่หายภายใน 3 - 4 สัปดาห์ หรือผู้ป่วยไซนัสอักเสบเรื้อรังที่รักษาด้วยยาเต็มที่แล้วไม่ได้ผลภายใน 4 - 6 สัปดาห์) หรือมีการอักเสบเป็นซ้ำหลายๆครั้ง
• ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากมีไข้ขึ้นสูงหรือมีภาวะแทรกซ้อนของไซนัสอักเสบ
• ผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่มีริดสีดวงจมูกร่วมด้วย
• ผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่เกิดจากเชื้อรา
• ผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่มีความผิดปกติของโครงสร้างทางกายวิภาคภายในโพรงจมูก ซึ่งทำให้เกิดการอุดตันของรูเปิดไซนัส

3. รักษาโรคหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบ เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ  ได้แก่
     3.1) ความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายต้องแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง ให้ดีจะได้มีภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยให้พักผ่อนให้เพียงพอรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ และออกกำลังกายให้สม่ำเสมอเพื่อให้ความต้านทานโรคดีขึ้นโอกาสที่จะเกิดการ ติดเชื้อน้อยลง
     3.2) เมื่อมีการติดเชื้อขึ้นในทางเดินหายใจส่วนบนเช่น เป็นหวัด คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบหรือฟันผุ ต้องรีบรักษาให้หายโดยเร็วเพื่อไม่ให้การอักเสบนั้นลุกลามไปถึงไซนัสได้
     3.3) ผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือชนิดไม่แพ้ ควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้องให้ผู้ป่วยรู้จักวิธีปฏิบัติตัวและดูแลสิ่ง แวดล้อมให้เหมาะสม
     3.4) ผู้ป่วยที่มีผนังกั้นช่องจมูกคดหรือมีความผิดปกติทางกายวิภาคอื่นๆในจมูก หรือมีริดสีดวงจมูกควรให้การรักษาด้วยยาหรือผ่าตัดให้เหมาะสมเป็นกรณีๆไป

Louis vuitton fake kaufen Louis vuitton imitacion Bolsos Louis vuitton imitazioni Louis vuitton tassen Replica
Cheap NFL Jerseys sac Louis Vuitton pas cher chine Hermes Replica Handbags