Publication

โรคหืดรุนแรงถึงตาย ...แต่ป้องกันได้


Update : 10 Mar 2011

โรคหืด เป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ความรุนแรงของโรคมีได้ตั้งแต่ไม่รุนแรง คือมีอาการหอบเหนื่อยและหายเองได้

โรคหืดคืออะไร ?
โรค หืด เป็นภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังของทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากหลอดลมมีภาวะไวต่อการกระตุ้นจากสิ่งต่างๆมากผิดปกติ  ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมหดเกร็ง มีการบวมของเยื่อบุ และหลั่งเสมหะออกมามากกว่าปกติ เป็นผลให้เกิดการตีบแคบของหลอดลมเป็นพักๆ นำไปสู่อาการเหนื่อย หายใจลำบากตามมา
โรคหืดพบได้มากน้อยเพียงใด ?
ใน ประเทศไทย ฟิลิปปินส์และฮ่องกง พบเด็กอายุ 7-14 ปี เป็นโรคหืดประมาณร้อยละ 12.4 ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นมีความชุกของโรคหืดมากที่สุดในแถบเอเชียแปซิฟิคคือ ร้อยละ 13


ผลกระทบของโรคหืดมีอะไรบ้าง ?

โรค หืดสามารถก่อให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพชีวิต โดยโรคหืดจะรบกวนการนอน  ทำให้การทำงานถดถอยลง  สูญเสียรายได้ นอกจากนี้ อาการแน่นหน้าอกอาจทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่าเป็นโรคหัวใจได้ ในผู้ป่วยเด็กโรคหืดอาจทำให้ต้องขาดเรียนบ่อยๆลดความสามารถในการเล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมเด็กอาจเกิดความผิดปกติของร่างกาย เช่น หน้าอกพองโต การเจริญเติบโตน้อยกว่าปกติและอาจเกิดปัญหาพัฒนาการเรียนรู้ที่ช้าได้
การจับหืดแต่ละครั้งถือว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรค ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากเกิดการตีบตัวของหลอดลมอย่างรุนแรงทำให้สมองขาดออกซิเจนผู้ป่วยที่ เกิดการจับหืดรุนแรงต้องมารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินหรือแม้แต่หอผู้ป่วย วิกฤตในโรงพยาบาลหากไม่ได้รับการรักษานานๆ จะสูญเสียสมรรถภาพปอดอย่างถาวรได้
โรคหืดเกิดจากสาเหตุใด ?
การเกิดโรคหืดมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยสิ่งแวดล้อม

    ๐ ปัจจัยทางพันธุกรรมผู้ ที่มีประวัติพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคหืด โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้แสดงถึงการมีพื้นฐานโรคภูมิแพ้ทางพันธุกรรมซึ่งจะมี ความเสี่ยงต่อโรคหืดเพิ่มขึ้น
    ๐ ปัจจัยสิ่งแวดล้อม สาร ก่อภูมิแพ้ที่เป็นสิ่งกระตุ้นอาการของโรคหืดมีอยู่ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ที่อยู่อาศัย สิ่งกระตุ้นในอาคารได้แก่ ตัวไรฝุ่น ฝุ่นบ้าน ขนสัตว์ แมลงสาบ เชื้อรา สิ่งกระตุ้นนอกอาคาร ได้แก่ มลภาวะ ละอองเกสรดอกไม้ ควันบุหรี่ สารเคมีในอาหารบางอย่างหรือการออกกำลังกายหรือการสัมผัสกับอากาศที่เย็นจัด สารเคมีเกี่ยวกับการประกอบอาชีพบางชนิด สิ่งกระตุ้นอื่นๆ ได้แก่ การติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจและยาบางอย่าง เช่น แอสไพริน เป็นต้น

เมื่อใดจึงจะสงสัยว่าเป็นโรคหืด ?
ผู้ ที่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงหวีด ไอและแน่นหน้าอกเมื่อสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นในสิ่งแวดล้อม หรือขณะออกกำลังกายโดยเฉพาะในช่วงกลางคืนหรือเช้ามืด อาการเหล่านี้อาจทุเลาลงได้เองหรือทุเลาภายหลัง การรักษาร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ทางพันธุกรรม ถ้ามีอาการไม่ชัดเจนควรติดตามดูอาการจนกว่าจะมั่นใจ หรือให้วัดสมรรถภาพปอดที่บ้านด้วยอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายและสะดวกเพื่อตรวจดู การเปลี่ยนแปลงของสมรรถภาพปอดในแต่ละวันและระหว่างวัน ซึ่งจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ถูกต้องแน่นอนมากขึ้น


การรักษาโรคหืดทำอย่างไร ?
ทำ การค้นหาควบคุมและหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นต่างๆเพื่อลดการเกิดอาการ และป้องกันการจับหืดเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดูแลรักษาโรคหืด และในปัจจุบันมีการใช้ยาสูดพ่นขยายหลอดลมเมื่อเกิดอาการร่วมกับการใช้ยาสูด พ่นสเตียรอยด์ป้องกันการเกิดอาการ ซึ่งสามารถควบคุมโรคหืดได้เป็นอย่างดีเมื่อได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ  ถ้ามีอาการรุนแรงอาจต้องใช้ยาขยายหลอดลมหรือยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานหรือ ฉีดเข้าหลอดเลือดดำร่วมดัวย แต่ต้องระมัดระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาสเตียรอยด์ ได้แก่ เบาหวาน กระดูกผุ ต้อกระจก และร่างกายไม่เติบโตตามวัยในผู้ป่วยเด็ก ซึ่งพบจากการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำมากกว่า ชนิดสูดพ่นมาก

Louis vuitton fake kaufen Louis vuitton imitacion Bolsos Louis vuitton imitazioni Louis vuitton tassen Replica
Cheap NFL Jerseys sac Louis Vuitton pas cher chine Hermes Replica Handbags