Publication

โรคแพ้นมวัว


Update : 17 Feb 2011

หลายคนอาจจะคิดว่าโรคแพ้นมวัวนั้นพบได้น้อย และไม่น่าจะมีอาการรุนแรงมากนัก ความเป็นจริงแล้วพบว่าในปัจจุบันนี้โรคแพ้นมวัวพบได้บ่อยครั้ง...

หลายคนอาจจะคิดว่าโรคแพ้นมวัวนั้นพบได้น้อยและไม่น่าจะมีอาการรุนแรงมากนักแต่ในความเป็นจริงแล้วพบว่า ในปัจจุบันนี้โรคแพ้นมวัวพบได้บ่อยและมีอาการแสดงได้หลายรูปแบบมาก จึงทำให้ยากในการวินิจฉัยปฏิกิริยาในการแพ้นมวัวนั้นอาจจะเกิดจาก IgE mediated หรือ non IgE mediated ก็ได้หรือร่วมกันทั้ง 2 อย่าง ปัจจัยอื่นๆที่มีผลในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในทารกตั้งแต่ในครรภ์นั้น พบว่าการที่มารดาสัมผัสกับโปรตีนนมวัวในปริมาณปานกลางตั้งแต่เดือนที่ 4 ของการตั้งครรภ์จะทำให้เกิดภาวะแพ้นมวัวของทารกในครรภ์และเมื่อทารกคลอดและ ได้รับนมวัวก็จะกระตุ้นให้แสดงอาการแพ้ออกมาได้ การพบโรคแพ้นมวัวได้บ่อยในช่วงวัยทารกอาจเกิดจากระบบย่อยอาหารในเด็กทารก นั้นยังไม่พัฒนาให้สมบูรณ์เต็มที่และยังไม่มีการสร้าง secretory IgA

จากรายงานอุบัติการณ์ของโรคแพ้นมวัวในต่างประเทศพบว่าอยู่ระหว่างร้อยละ 1.8-7.5 แต่ถ้าใช้เกณฑ์การวินิจฉัยมาตรฐานของ Goldman (DBPCFC test) พบว่า   อุบัติการณ์จะลดเหลือแค่ร้อยละ 2-5 เท่านั้น และถ้าวินิจฉัยโดยอาศัยอาการแสดง และเมื่อหลีกเลี่่ยงการให้นมวัวแล้วอาการดีขึ้น อุบัติการณ์อาจจะสูงถึงร้อยละ 5-15 และพบในทารกที่รับประทานแต่นมแม่ได้ร้อยละ 0.5 อาการแสดงของโรคแพ้นมวัว ส่วนใหญ่จะพบมากกว่า 2 อาการ และมากกว่า 2 ระบบขึ้นไป โดยร้อยละ 50-70 จะมีอาการทางผิวหนังร้อยละ 50-60 มีอาการทางเดินอาหาร และร้อยละ 20-30 มีอาการทางระบบหายใจ
 
อุบัติการณ์ของโรคแพ้นมวัว

การวินิจฉัยโรค


การวินิจฉัยโรคโดยมากจะอาศัยจากประวัติเป็นสำคัญ ได้แก่
1. มีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัวโดยเฉพาะพ่อหรือแม่
2. มีอาการแสดงที่มักจะเริ่มภายใน 3-6 เดือน หลังจากเด็กได้รับประทานนมวัวและขึ้นกับปริมาณนมวัวที่ได้รับ
3. อาการแสดงที่กล่าวมาแล้วนั้นส่วนมากจะมีอาการมากกว่า 2 อาการ และมากกว่า 2 ระบบขึ้นไปและอาการเรื้อรังเป็นๆหายๆ
4. มักจะได้ประวัติว่าแม่รับประทานนมวัวในช่วงตั้งครรภ์มากกว่าปกติเนื่องจาก ต้องการบำรุงทารกในครรภ์โดยไม่ทราบว่า โปรตีนนมวัวที่แม่รับประทานจะผ่านจากแม่ไปกระตุ้นให้เกิดการแพ้ในทารกได้
5. ในกรณีที่เด็กรับประทานนมแม่อย่างเดียวจะได้ประวัติว่าแม่รับประทานนมวัวมากกว่าปกติในขณะให้นมบุตร
6. อาการสำคัญอีกอย่างที่ควรทำให้นึกถึงคือเด็กมักจะมีน้ำหนักน้อยกว่าที่ควร เป็น เด็กที่รับประทานนมน้อย รับประทานนมยาก มีประวัติเปลี่ยนนมมาหลายยี่ห้อ

การตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยการทดสอบทางผิวหนังจะได้ประโยชน์ในกลุ่มที่เกิด จาก IgE-mediated. การตรวจหาเซลล์อีโอซิโนฟิลในสิ่งคัดหลั่ง การตัดชิ้นเนื้อในลำไส้ไปตรวจดูการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มที่เกิดจาก Non-IgE สำหรับวิธีการวินิจฉัยมาตรฐานคือการทำการทดสอบให้เด็กกินนมวัวแบบปกปิดและ สุ่มเทียบกับอาหารที่ไม่แพ้ (DBPCFC test)

 
การรักษา

การรักษาที่ถูกต้องและดีที่สุดคือการงดรับประทานนมวัวและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม วัวทุกชนิดอย่างน้อย 1 ปี และค่อยๆกลับมาทดลองรับประทานดูใหม่ ในกรณีที่รับประทานนมแม่ร่วมด้วยอยู่แล้วก็ให้รับประทานนมแม่ต่อไปโดยที่แม่ ต้องงดรับประทานนมวัวและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวทุกชนิดด้วยเช่นกัน ในระหว่างที่ให้นมบุตรสำหรับนมที่จะนำมาทดแทนหรือเสริมกับนมแม่นั้นกลุ่มผู้ เชี่ยวชาญทั้งหลายแนะนำให้ใช้ pHF เท่านั้น ไม่แนะนำให้ใช้ eHF หรือนมถั่วเหลือง เพราะอาจจะทำให้เกิดการแพ้ได้ แต่ในทางปฏิบัติพบว่าเนื่องจากนมสูตร pHF นั้นมีปัญหาเรื่องรสชาติและราคาทำให้ขาดความร่วมมือของพ่อและแม่ในการใช้นมชนิดนี้  ดังนั้นในทางปฏิบัติที่ผ่านมาจากประสบการณ์ของ รศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์ ได้รักษาผู้ป่วยที่แพ้นมวัวด้วยนมถั่วเหลืองมาก่อนที่จะมีนมสูตร pHF และพบว่าได้ผลดีมากกว่าร้อยละ 80 ติดที่ปัญหาว่าพ่อแม่มักคิดว่าคุณค่าของนมถั่วเหลืองไม่ดีเท่านมวัวและเมื่อ มีนมสูตร pHF จึงได้แนะนำนมสูตรนี้ในการรักษาผู้ป่วยเด็กที่แพ้นมวัว และไม่สามารถใช้นมสูตร eHF หรือนมถั่วเหลือง โดยเลือกเฉพาะบางรายที่มีอาการไม่รุนแรงเช่น ผื่นแพ้ผิวหนัง อาการคัดจมูก น้ำมูกเรื้อรัง ไอ หอบ colic ท้องเสีย อาเจียน พบว่าใช้ได้ผลดีมากเช่นกัน ยกเว้นในรายที่มีการแพ้ เป็นผื่นลมพิษ anaphylaxis อาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือด หรืออาการทางลำไส้ที่มีปัญหาการย่อยและดูดซึมอาหารเพราะเนื่องจากรสชาติดีพอใช้และราคาเท่านมสูตรปกติรวมทั้งการยอมรับของพ่อแม่ดีกว่า eHF หรือนมถั่วเหลือง สำหรับอาการที่เกิดขึ้นก็ให้ยารักษาตามอาการ


ข้อมูลการแพ้นมวัวในเด็กไทย

จากการรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยเด็กที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดย รศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์ ในช่วงระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมานั้นมีผู้ป่วยที่สงสัยว่าแพ้นมวัวรวมทั้งสิ้น 190 คน ซึ่งการวินิจฉัยอาศัยจากการให้งดนมวัวและผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นชัดเจนเป็น ผู้หญิง 89 คน และผู้ชาย 101 คน อายุที่ให้การวินิจฉัยเฉลี่ย 13.6 เดือน(7วัน-10ปี) ระยะเวลาที่มีอาการเฉลี่ย 7.7 เดือน (2นาที - 8ปี) มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวร้อยละ 72.4 มารดาให้ประวัติว่ารับประทานนมวัวมากกว่าปกติในระหว่างตั้งครรภ์          ร้อยละ 100 สำหรับอาการที่พบมีดังนี้คือ อาการทางระบบผิวหนังร้อยละ 20.5 (ผื่นแพ้ผิวหนังร้อยละ 68 ลมพิษร้อยละ 30.6 ผื่นแพ้ผิวหนังชนิดสัมผัสร้อยละ 1) ระบบทางเดินอาหารร้อยละ 25(ท้องเสียร้้อยละ 31.3 เลือดออกทางเดินอาหารร้อยละ 23.5 อาเจียนร้อยละ 22 โรคอาหารไหลย้อนเข้าหลอดอาหารร้อยละ 12.7 colic ร้อยละ 6.8 โรคลำไส้ล้มเหลวร้อยละ 1 ลำไส้ไม่ทำงานร้อยละ 1 ท้องผูกร้อยละ 1) และระบบทางเดินหายใจร้อยละ 34.8 (น้ำมูกเรื้อรังร้อยละ 32.2 คัดจมูกร้อยละ 31.6 ไอหอบร้อยละ 25.5 มีเสมหะในปอดมากร้อยละ 10.9) อาการอื่นๆที่พบได้อีก เช่น น้ำหนักไม่ขึ้นร้อยละ 16.9 โลหิตจางร้อยละ 2.6 anaphylactic shockร้อยละ 0.6 พบผู้ป่วยที่ได้รับประทานนมวัวโดยไม่ตั้งใจ (accidental challenge) และมีอาการร้อยละ 100 ร่วมกับมีอาการแพ้อาหารอื่นร่วมด้วยโดยมากมักจะเป็นไข่แดงและอาหารทะเล สำหรับผลการทำทดสอบผิวหนังด้วยสารสกัดจากนมวัว (cow milk extract) พบว่าให้ผลบวกร้อยละ 53.7 นอกจากนั้นได้ทดลองเอานม pHF มาลองทำทดสอบผิวหนังเปรียบเทียบกับนมวัวสูตรปกติที่ผู้ป่วยรับประทานปรากฏ ว่า นม pHF ให้ผลลบในผู้ป่วยทุกรายที่ให้ผลบวกกับนมวัวสูตรปกติ ดังนั้นในแง่การรักษาจึงมีการนำนมสูตร pHF มาใช้รักษาในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี และได้ผลดีสำหรับในเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปี มักจะแนะนำให้เปลี่ยนไปเป็นนมถั่วเหลืองแบบ UHT ก็ได้ผลดีด้วยเช่นกัน สำหรับนมที่นำมาใช้รักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้พบว่าใช้ eHF ร้อยละ 47.8 Neocateร้อยละ 0.6 นมแม่ร้อยละ 3.8


การพยากรณ์โรค

การพยากรณ์โรคของการแพ้นมวัวค่อนข้างดีคืออาการจะค่อยๆหายไปเมื่อโตขึ้นคือร้อย ละ 45-56 เมื่อ 1 ปี ร้อยละ 60-77 เมื่อ 2 ปี และร้อยละ 84-87 เมื่อ 3 ปี และร้อยละ 90-95 เมื่ออายุ 5-10 ปี แต่อาจพบร่วมกับการแพ้อาหารอื่นๆร่วมด้วยร้อยละ 31-75 และพบร่วมกับ inhalant allergy ได้ร้อยละ 50-80 พบว่ากลุ่มที่เกิดจาก Non-IgE mediated จะหายได้มากกว่าและเร็วกว่ากลุ่มที่เกิดจาก IgE mediated


การป้องกัน
   
การรับประทานนมมารดาจะช่วยป้องกันการเกิดการแพ้อาหารเพราะทำให้ลดการสัมผัส โปรตีนแปลกปลอมจากนมผสมเพิ่มปริมาณ secretory  IgA  นมมารดาจะกระตุ้นให้ระบบทางเดินอาหารมีกลไกการป้องกันโรคและภูมิคุ้มกันมี การพัฒนาจนสมบูรณ์ได้รวดเร็วขึ้นเมื่อเปรียบเทียบ pHF กับ eHF ในการป้องกันโรคภูมิแพ้ในขณะนี้พบว่าไม่แตกต่างกันในการใช้ pHF หรือ eHF ข้อสรุปในการป้องกันโรคภูมิแพ้ในเด็กที่มีความเสี่ยงสูงคือควรให้รับประทาน นมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก โดยแม่ไม่จำเป็นต้องงดนมวัวและพยายามหลีกเลี่ยงการให้อาหารเสริมโดยเฉพาะ อย่างยิ่งไข่แดงในช่วง 6 เดือนแรกหรืออาหารทะเลควรเสริมหลังอายุ 1 ปีไปแล้ว และไม่แนะนำการงดอาหารใดๆในช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร แต่ก็ไม่ควรเน้นให้มารดารับประทานนมวัวเพิ่มในช่วงเวลาดังกล่าว และถ้าไม่สามารถให้นมมารดาได้ แนะนำให้ใช้ hypoallergenic formula (HA)แทน  ซึ่งอาจจะใช้ eHF หรือ pHF แทนก็ได้



แต่งโดย : ศ.นพ. เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม
สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย

Louis vuitton fake kaufen Louis vuitton imitacion Bolsos Louis vuitton imitazioni Louis vuitton tassen Replica
Cheap NFL Jerseys sac Louis Vuitton pas cher chine Hermes Replica Handbags